วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2018 เวลา 11:29 น.
เขียนโดย ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ก.ถ) ได้พัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยวิธีการประเมินตนเอง (Self Assessment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ อปท. พัฒนาประสิทธิผลของการให้บริการสาธารณะตามภารกิจหน้าที่และภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับความพึงพอใจจากประชาชน โดยข้อมูลที่ได้รับจากการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและค่ามาตรฐานการจัดบริการสาธารณะของ อปท. สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) และคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการและแนวทางพัฒนางานด้านการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะของ อปท. มีคุณภาพสูงขึ้น รวมทั้ง อปท. สามารถนำข้อมูลจากการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและค่ามาตรฐานการจัดบริการสาธารณะไปใช้ในการวางแผนการจัดบริการสาธารณะและประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการสาธารณะทั้งในส่วนขององค์กรและบุคลากรของ อปท. ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการให้บริการสาธารณะของ อปท. ให้มีคุณภาพและมาตรฐานการบริการที่สูงขึ้นไป
ในการนี้ สำนักงาน ก.ก.ถ. ได้พัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลตัวชี้วัดและค่ามาตรฐานการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ทางระบบออนไลน์ขึ้น เพื่อให้การนำส่งข้อมูลการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ตามแบบรวบรวมข้อมูลการจัดบริการสาธารณะตามตัวชี้วัดเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนให้การประมวลผลข้อมูล และรายงานผลการประเมิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบดังกล่าวให้แก่ อปท. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินการจัดส่งข้อมูลการจัดบริการสาธารณะ และการเรียกดูรายงานผลการประเมินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้องต่อไป
คู่มือ
การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
๑. ความเป็นมา
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ก.ถ.) ได้ประสานขอความร่วมมือเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บันทึกข้อมูลการจัดบริการสาธารณะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด ในระบบประมวลผลข้อมูลเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ของสำนักงาน ก.ก.ถ. และได้ดำเนินการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดบริการสาธารณะดังกล่าว พร้อมทั้งจัดทำรายงานการประเมินผลเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล และ อบต. รอบที่ ๓ เสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ในการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ แล้ว มีมติให้เทศบาล และ อบต. พิจารณานำผลการประเมินไปปรับปรุงประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะ โดยนำเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะ ไปใช้สำหรับวางแผนการจัดบริการสาธารณะตามความเหมาะสมกับบริบทของเทศบาล และ อบต. ต่อไป
๒. วัตถุประสงค์ของการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
๒.๑ เพื่อให้ อปท. ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิผล และคุณภาพการจัดบริการสาธารณะขององค์กรในรอบปีที่ผ่านมา
๒.๒ เพื่อให้ อปท. ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ/หรือจุดอ่อนของ การจัดบริการสาธารณะตามเกณฑ์ชี้วัด โดยเปรียบเทียบผลดำเนินงานกับค่าเป้าหมายขั้นต่ำที่เหมาะสมและเป็นไปตามบริบทของ อปท.
๒.๒ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดบริการสาธารณะของ อปท.
๓. การประเมินผลการดำเนินงานโดยวิธีการประเมินตนเอง Self Assessment)
การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์โดยวิธีการประเมินตนเอง (Self Assessment) หมายถึง กระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ สำรวจ ตรวจสอบ ทบทวนการปฏิบัติงานในช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมาของตนเองว่า อปท. มีการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิผล และคุณภาพอย่างไร อยู่ในระดับใด โดยเป็นการประเมินผล การดำเนินงานของ อปท. ตามเกณฑ์ชี้วัดเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่ง ในวงจรการดำเนินงานขององค์กร ดังนี้
(๑) การวางแผนการดำเนินงาน (๒) การดำเนินงานตามแผน
(๔) การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ (๓) การประเมินผลการดำเนินงาน
๔. การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
อปท. สามารถนำผลการประเมินเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะ ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม/โครงการ โดยวิธีการประเมินตนเอง (Self Assessment) ในขั้นตอนของการประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยการวิเคราะห์ผลดำเนินงานตามเกณฑ์ ชี้วัดที่ อปท. ให้ความสนใจหรือมีการจัดบริการสาธารณะเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายขั้นต่ำว่า มีผลดำเนินงานอยู่ในระดับใด เช่น มากกว่าหรือเท่ากับค่าเป้าหมายขั้นต่ำ น้อยกว่าค่าเป้าหมายขั้นต่ำ หรือไม่ได้ดำเนินการ โดยการค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ จุดอ่อนของการดำเนินงาน หรือสาเหตุที่ไม่มีการดำเนินการ เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะรายงานต่อผู้บริหาร สำหรับการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดการพัฒนาประสิทธิผล ในการจัดบริการสาธารณะของ อปท. อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำไปใช้ ในการวางแผนการจัดบริการสาธารณะ โดยพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายในการจัดกิจกรรม/โครงการให้เป็น ไปตามค่าเป้าหมายขั้นต่ำหรือให้มีความเหมาะสมกับบริบทของ อปท. และมีแนวทางการพิจารณาดังนี้
ประเด็นพิจารณา
|
ผลดำเนินงานเปรียบเทียบกับ
ค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ข้อเสนอการพิจารณา
|
ตัวชี้วัดที่ ๑
|
มากกว่าหรือเท่ากับค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
|
น้อยกว่าค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
|
ไม่ได้ดำเนินการ
|
พิจารณาให้มีการดำเนินการตาม
ความเหมาะสมกับบริบทของ อปท.
|
ตัวชี้วัดที่ ๒
|
มากกว่าหรือเท่ากับค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
|
น้อยกว่าค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
|
ไม่ได้ดำเนินการ
|
พิจารณาให้มีการดำเนินการตาม
ความเหมาะสมกับบริบทของ อปท.
|
|
|
|
ตัวชี้วัดที่ ...
|
มากกว่าหรือเท่ากับค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
|
น้อยกว่าค่าเป้าหมายขั้นต่ำ
|
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
|
ไม่ได้ดำเนินการ
|
พิจารณาให้มีการดำเนินการตาม
ความเหมาะสมกับบริบทของ อปท.
|
****************************************************